คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

ปลาแอฟริกันไทเกอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาแอฟริกันไทเกอร์
ชนิด H. vittatus ขนาดเล็กจากแม่น้ำเซมเบซีตอนบน
ชนิด H. goliath ขนาดใหญ่กว่า 5 ฟุต และมีน้ำหนักถึง 45 กิโลกรัม
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Actinopterygii
อันดับ:Characiformes
วงศ์:Alestiidae
สกุล:Hydrocynus
Cuvier, 1816
ชนิด
ดูในเนิ้อหา
ปลาแอฟริกันไทเกอร์ (อังกฤษ: African tigerfish) เป็นสกุลของปลาน้ำจืด 5 ชนิดที่อยู่ในวงศ์ปลาเตตร้าแอฟริกัน (Alestiidae) ในอันดับปลาคาราซิน ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hydrocynus (/ไฮ-โดร-ไซ-นัส/) โดยมาจากภาษากรีก คำว่า "hydro" หมายถึง น้ำ บวกกับคำว่า "kyon" ที่หมายถึง สุนัข[1]
เป็นปลากินเนื้อทั้งหมด มีรูปร่างโดยรวมคือ ลำตัวเพรียวยาวเหมือนตอร์ปิโด เกล็ดมีขนาดใหญ่ มีสีเงินแวววาว และที่ชิ้นเกล็ดจะมีจุดสีเข้ม ทำให้เห็นเป็นลายพาดตามยาวไปตามแนวข้างลำตัวเหนือเส้นข้างลำตัว ทำให้มองดูคล้ายลายของเสือลายพาดกลอน อันเป็นที่มาของชื่อ นอกจากแถบดังกล่าวแล้วส่วนที่ไม่ใช่แถบจะมีสีออกสีเงิน, สีขาว และสีเทา ขณะที่บางตัวอาจมีเหลือบสีฟ้า, สีเขียว, สีส้ม หรือสีเหลืองอ่อนผสมอยู่ด้วย ปลาในสกุลนี้จะมีลักษณะเช่นเดียวกันนี้ทั้งหมด ครีบหลังจะอยู่ในระดับเดียวกับ ครีบท้องอาจจะอยู่ข้างหน้าเล็กน้อย ภายในปากมีฟันหนึ่งชุดที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนและเป็นจุดเด่น ซึ่งฟันแต่ละซี่ตั้งอยู่ในเบ้า ระหว่างฟันซี่อื่น ๆ บนขากรรไกร และจะแลเห็นได้ตลอดเวลาแม้แต่เมื่อปิดปากสนิท ขากรรไกรมีความแข็งแรงและทรงพลังมาก อีกทั้งสามารถยืดขยายได้กว้างเพราะมีจุดยึดกับมุมปากอยู่ถึงสองจุด ตาจะถูกคลุมโดยเปลือกตาเกือบทั้งหมด ครีบหางเว้าลึกเป็นสองแฉก
พบในลุ่มแม่น้ำคองโก ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ไหลเชี่ยวมากในทวีปแอฟริกาตอนกลาง เป็นปลาล่าเหยื่อที่ล่าได้อย่างรวดเร็ว ดุดัน ไม่แพ้ปลาปิรันยาในลุ่มแม่น้ำอเมซอน ในทวีปอเมริกาใต้ แต่ไม่นิยมล่ารวมเป็นฝูง และเคยมีรายงานว่าทำร้ายมนุษย์ได้อีกด้วย โดยที่ชาวพื้นเมืองแอฟริกาได้เรียกปลาสกุลนี้ในภาษาลิงกาลาว่า เอ็มเบ็งกะ (Mbenga) หรือ อิงเกวส (Ndweshi)[2] และมีความเชื่อว่าการที่มันล่าและทำร้ายมนุษย์เพราะมีวิญญาณที่ชั่วร้ายสิงสถิตอยู่[3]
มีทั้งหมด 5 ชนิด โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ H. goliath ที่มีความยาวที่สุดได้ถึง 6 ฟุต และมีน้ำหนักถึง 100 ปอนด์[4]
เป็นปลาที่นิยมตกเป็นเกมกีฬา จัดเป็นปลาที่ตกได้ยากมากจำพวกหนึ่ง[5] เพราะอาศัยในกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว และชอบกระโดด และยังเป็นที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย
จากhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C
การเลี้ยงปลาสวยงามเบื้องต้น
1. ตู้ปลา


          ตู้ปลาเป็นอุปกรณ์อันดับแรกเลยที่ควรจะนึกถึงก่อน ตู้ปลาที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมี 2 ชนิด 

          1.1 ตู้กระจกเป็นตู้ที่เป็นที่นิยมสูงของผู้เลี้ยงปลาเพราะหาซื้อง่าย ราคาถูก ทนต่อรอยขูดขีด        แต่ตู้กระจกก็ยังมี
                 ข้อเสียอยู่ที่ หากแตกจะทำให้เกิดอันตรายได้        ถ้ากระจกหนาไปจะทำให้มองเห็นกระจกเป็น สีเขียวอ่อน ๆ                  ตู้กระจกมีน้ำหนักมากเมื่อขนาดใหญ่ขึ้น 
          1.2 ตู้อคริลิกเป็นตู้อีกชนิดหนึ่งที่นิยมกัน   แต่ส่วนใหญ่ที่ไม่เป็นที่นิยมกันเพราะตู้อคริลิกมีราคาแพงกว่าตู้กระจก
                 หลายเท่า ไม่ทนทานต่อการขูดขีด   หากชำรุดยากต่อการซ่อมบำรุงและดูแลรักษา   แต่ตู้อคริลิกมีความใสกว่า
                 กระจก รูปแบบมักจะสวยกว่าสามารถดัดตามรูปแบบที่ต้องการได้ น้ำหนักเบา      ตู้ปลาส่วนมากจะมีความยาว
                 มากกว่าความสูงเพราะจะมีเนื้อที่ให้ปลาว่ายหรือเพิ่มมุมมองให้กับตู้ปลา

ขนาดตู้กระจกมาตรฐานที่มีจำหน่ายทั่วไป 

กว้าง x ยาว x สูง ( นิ้ว )
ความหนาของกระจก(หุน)
กว้าง x ยาว x สูง(นิ้ว )
ความหนาของกระจก(หุน)
24 x12 x15
1.5
48 x20 x20
2
30 x16 x18
1.5
60 x18 x20
2
30 x18 x18
1.5
60 x20 x20
2
36 x16 x18
2
60 x24 x24
3
36 x18 x18
2
60 x24 x30
3
42 x16 x18
2
72 x24 x24
3
42 x18 x18
2
72 x24 x30
3
48 x16 x18
2
84 x24 x24
4
48 x18 x18
2
84 x24 x30
4

2. การจัดวางตู้ปลา


          เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องนึกถึงเพราะถ้าวางในที่ตั้งที่ไม่ดีแล้วสิ่งมีชีวิตภายในตู้ปลาของเราอาจเกิดปัญหาได้ 

          ตั้งที่มุมสงบไม่พุกพล่าน ปลาจะเกิดอาการเครียด ตกใจง่าย ไม่กล้าออกมาว่ายน้ำ อาจเป็นสาเหตุโน้มนำให้ปลาที่
             เลี้ยงป่วยได้ 
          - ไม่เกะกะกีดขวางการทำงานอื่น ถ้าตู้ปลาได้รับการกระทบกระเทือนขณะมีน้ำอยู่อาจจะทำให้แตกและได้รับ
             อันตรายได้ เพราะกระจกตู้มีภาระที่ต้องรองรับแรงดันของน้ำอยู่แล้ว
          - แสงอาทิตย์ จะทำให้มีผลต่อการเกิดตะไคร่ จะทำให้ตู้ปลาที่เราเลี้ยงดูสกปรกแต่ถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงมากใน
             รอบวันก็จะทำให้ปลาที่เราเลี้ยงไม่แข็งแรง อ่อนแอติดเชื้อโรคได้ง่าย

3. ความสะดวกในการดูแลรักษา



          ความสะดวกในการดูแลรักษาเป็นผลมาจากการเลือกวางตู้ปลา หากวางตู้ปลาในที่เหมาะสมแล้การดปลี่ยนถ่ายน้ำควรใกล้แหล่งทิ้งน้ำเข้า หากเป็นไปไม่ได้ควรใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ มาช่วย เช่น สายยาง กระป๋องตักน้ำ ควรให้แหล่งทิ้งน้ำอยู่ต่ำกว่าตู้ปลาจะได้ง่ายต่อการถ่ายน้ำ

4.น้ำ

          ส่วนมากการเลี้ยงปลามักจะใช้น้ำประปามาใส่ตู้ เพราะความสะดวกสบายของผู้เลี้ยงและไม่สามารถหาน้ำจากแหล่งอื่นได้ การจะนำน้ำประปาควรนำน้ำประปาที่รองทิ้งไว้ 1-2 วัน แล้วจึงนำมาใช้เพราะน้ำประปามีน้ำคลอรีนละลายอยู่แต่ความเป็นจริงแล้วน้อยคนที่จะทำเช่นนั้น ส่วนใหญ่ใช้น้ำประปาโดยตรงเลย ควรที่จะทิ้งไว้เสียก่อน และใช้สารเคมีกำจัดคลอรีน เช่น โซเดียมไทโอซัลเฟต ก่อนนำมาใช้
5. การให้อากาศและการหมุนเวียนน้ำ             

          ในตู้ปลาที่มีสิ่งมีชีวิตอย่างหนาแน่นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้อากาศลงไปในตุ้ปลา เพื่อปลาและสิ่งมีชีวิตอื่นได้หายใจด้วยการให้อากาศมี 2 วิธีด้วยกัน

          - ใช้เครื่องให้อากาศใต้น้ำ (Air Pump) โดยผ่านท่อลมและมีตัวปล่อยอากาศใต้น้ำ เช่น หัวทราย
          - ใช้เครื่องพ่นน้ำขนาดเล็ก โดยให้หลักการให้น้ำหมุนเวียนขึ้นมาสัมผัสอากาศ หรือในเครื่องพ่นน้ำบางรุ่นจะมีท่อ
             สำหรับใส่สายลมเพื่อดูดอากาศเข้าไปผสมกับน้ำ แล้วพ่นออกมาเป็นการให้อากาศในตู้ปลาอีกวิธีหนึ่ง

6.แสงสว่าง

          โดยทั่วไปการให้แสงสว่างกับตู้ปลามักจะใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์เป็นส่วนใหญ่ เพราะหาซื้อง่ายราคาถูก โดยที่จริงแล้วแสงจากหลอดไฟไม่มีผลโดยตรงต่อการอยู่รอดของปลา แต่เป็นเพียงเพิ่มความสว่างให้ตู้ปลา หลอดบางชนิดทำให้เห็นสีของปลาสวยกว่าสีจริงด้วย และยังทำให้ปลาไม่ตื่นตกใจง่ายถ้าเราให้แสงสว่างเป็นประจำ

7. อุปกรณ์กำจัดของเสีย

          การกำจัดของเสียในตู้ปลาเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการเลี้ยงปลา เพราะเป็นไปไม่ได้ที่เราจะเปลี่ยนน้ำให้ปลาทุกวัน แต่ปลาต้องกินต้องถ่ายทุกวันทำให้ของเสียมีปริมาณมากขึ้น ถ้าเราไม่กำจัดมันออก การกำจัดของเสียส่วนมากเราจะใช้ระบบกรองน้ำโดยทั่วไปมักจะเห็นกันอยู่มี 2 แบบ

          - กรองใต้ทราย (Sub sand filter) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หลักการให้น้ำผ่านใต้ทรายแล้ว น้ำจะพ่นออกทางท่อเหนือพื้น
             ทรายสิ่งสกปรกก็จะติดอยู่ที่พื้นทราย จุลินทรีย์ในทรายก็จะย่อยสลายของเสีย
          - การกรองแบบเปียก – แห้ง (Wet & dry filter) เป็นการกรองโดยใช้หลักการโปรยน้ำลงมาโดยมีวัสดุพื้นที่ผิวมาก
             เป็นตัวรองรับ โดยผ่านตัวกรองหลาย ๆ ชนิด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การโปรยน้ำก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ ทำให้
             เพิ่มอ๊อกซิเจนให้กับตู้ปลาของเรา         และการที่น้ำผ่านวัสดุพ้นที่ผิวมากก็จะทำให้น้ำสัมผัสกับพื้นที่ยึดเกาะของ
             จุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่บำบัดคุณภาพน้ำ    ทั้งจุลลินทรีย์ที่ใช้อ๊อกซิเจนและจุลินทรีย์ไม่ใช้อ๊อกซิเจนในการย่อยสลาย
             ของเสีย  วัสดุเหล่านี้มักพบเห็นทั่วไปเช่น ไบโอบอล ( Bioball ) กรวดปะการัง ฯลฯ

8. อุปกรณ์ตกแต่ง ประดับ

          อุปกรณ์เหล่านี้จะเป็นตัวเพิ่มสีสันให้กับตู้ปลาไม่ว่าจะเป็นการเลียนแบบธรรมชาติ         หรือที่เป็นจินตนาการของ
ผู้ประดิษฐ์เอง เช่น ก้อนหิน ขอนไม้ ปะการังเทียม ต้นไม้พลาสติก การตกแต่งตู้ปลาด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ  นั้นไม่ใช่ว่าเพียง
แค่ความสวยงาม          แต่ยังมีประโยชน์ในแง่เป็นที่หลบของปลาอาณาเขตอีกด้วยไม่ควรนำอุปกรณ์ตกแต่งที่อาจจะเป็น
อันตรายต่อปลา เช่นวัสดุที่มีสีละลายน้ำ วัสดุที่เป็นสนิม

9. การจัดวางและการจัดตู้ปลา


          เมื่อเราเลือกอุปกรณ์จัดตู้ปลาแล้วควรที่จะเลือกที่วางให้เหมาะสม คือ  ของชิ้นเล็กควรไว้ข้างหน้าควรมีจุดเด่นในตู้ปลา ในตู้ปลาไม่ควรที่จะรกเกินไปจนปลามีที่ว่ายน้อยลง   สะดวกต่อการนำสวิงลงไปตักปลา เมื่อต้องการนำปลาออกจากตู้

10. การเลือกชนิดของปลา


          ควรศึกษาก่อนที่จะเลือกซื้อปลาว่าปลาแต่ละชนิดสามารถที่จะเลี้ยงรวมกันได้หรือไม่    กัดกันหรือเปล่าหรือปลาบางชนิดอาจกินปลาเล็กเป็นอาหาร ปลาแต่ละชนิดกินอะไรเป็นอาหาร เช่น

          - ปลาที่สามารถอยู่รวมกันไม่กัดกัน เช่น ปลาทอง ปลาเทวดา ปลาหางไหม้ ปลากระดีมุก ฯลฯ
          - ปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร เช่น ปลามังกร ปลาออสการ์ ปลาตองลาย ปลาเสือตอ ปลากระทิง ปลาชะโด ฯลฯ

11. อาหารปลาและการให้ 
                  


          อาหารที่สามารถนำมาให้ปลามีหลายชนิดขึ้นอยู่กับชนิดของปลาที่เราจะได้ 

          - ถ้าเป็นอาหารสำเร็จรูปไม่ว่าจะอยู่ในรูปลอยน้ำ จมน้ำ เป็นแผ่น จะสะดวกในการเตรียมและให้แต่ควรระวังเรื่อง
             คุณภาพน้ำ ถ้าอาหารเหลือจะทำให้เน่าได้ง่ายจึงควรให้แต่น้อยพอปลากินหมดไม่ควรให้เหลือ ถ้าเหลือควรตักเศษ
             อาหารออกก่อนที่จะเน่า
          - อาหารมีชีวิต เช่น ลูกน้ำ ไรทะเล ไรน้ำจืด ไส้เดือนน้ำ หนอนนก ลูกกบ ลูกปลา ฯลฯ  อาหารเหล่านี้ปลาหลายชนิด
             จะชอบกินมากกว่าอาหารสำเร็จรูปเพราะมีความสด คุณค่าทางอาหารสูงกว่าแต่อาหารมีชีวิตมักจะเป็นพาหะและมี
             เชื้อโรคมาสู่ปลาที่เราเลี้ยง
          - ก่อนที่เราจะให้อาหารมีชีวิตเหล่านี้  ควรทำความสะอาดก่อน เช่น ทำความสะอาด หนอนแดง ไรทะเล ไส้เดือนน้ำ
             ด้วยฟอร์มาลีนเจือจาง ประมาณ 300 ppm.      แล้วล้างน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้งจนมั่นว่าสะอาดก่อนนำมาให้ปลาที่
             เลี้ยงกิน

12. โรคและการรักษา


          การเลี้ยงปลาสวยงาม ผู้เลี้ยงควรเอาใจใส่เรื่องสุขภาพของปลาด้วย   เมื่อเราเลี้ยงปลาไปนาน ๆ หรือได้ปลามาใหม่ ดูแลรักษาให้ปราศ พยาธิ และโรคติดต่อ       โรคที่มักพบทั่วไปของปลาสวยงามเป็นประจำ เช่นโรคจุดขาว โรคเห็บระฆัง โรคเห็บปลา โรคหนอนสมอ โรคหมัดปลา เชื้อรา เมือกขุน โรคตัวด่าง โรคท้องบวม       การป้องกันและรักษาโรคหลาย ๆ ชนิด ส่วนใหญ่มักจะรักษาคล้าย ๆ กันเช่น โรคจุดขาว โรคตกเลือด โรคหมัดปลา โรคเห็บระฆัง จะใช้ฟอร์มาลีน 20 – 25
ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร โรคเห็บปลา หนอนสมอ มักจะใช้ดิฟเทอแร็ก 0.5 – 0.75 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร  ควรเปลี่ยนถ่าย
น้ำและใส่ยาใหม่ เพื่อให้เชื้อโรคหลุดและกำจัดออกจากตัวปลาเร็วยิ่งขึ้น

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

                              การเพาะเลี้ยงปลากัด

ปลากัด  มีชื่อสามัญว่า  Siamese  Fighting  Fish   เป็นปลาสวยงามที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยมานานแล้ว   เนื่องจากเป็นปลาสวยงามที่นอกจากจะมีสีสันสดเข้มสวยงามสะดุดตามากแล้ว   ยังเป็นปลาที่จัดว่าเป็นยอดนักสู้ตัวฉกาจอย่างยิ่ง   โดยเฉพาะปลากัดที่ไปจากประเทศไทยจัดว่าเป็นปลาที่กัดเก่งและมีความทรหดมากที่สุด   ทำให้ได้รับความนิยมจากประเทศต่างๆทั่วโลก   ในประเทศไทยนิยมเลี้ยงปลากัดมานานแล้ว   และได้เน้นเป็นการเลี้ยงเพื่อเกมกีฬาโดยเฉพาะมีการจัดตั้งเป็นบ่อนการพนัน   ทางราชการจะมีการอนุญาตให้เปิดสถานที่สำหรับเดิมพันการกัดปลา   เรียก บ่อนปลากัด  หรือ  บ่อนกัดปลา   มาตั้งแต่โบราณจนกระทั่งปัจจุบัน
                การเลี้ยงปลากัดเป็นปลาสวยงามมักนิยมเลี้ยงในขวดหรือโหลขนาดเล็ก   ไม่นิยมเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่น  เพราะเป็นปลาที่ชอบสร้างอาณาเขตและมักจะไล่กัดปลาที่มีขนาดไล่เลี่ยกัน   ซึ่งในช่วงนี้ปลาจะมีสีสดเข้มสวยงาม   แต่ถ้านำไปเลี้ยงกับปลาขนาดใหญ่ปลาจะตื่นตกใจ  เหมือนกับการแพ้คู่ต่อสู้   ในช่วงนี้ปลาก็จะสีซีดดูไม่สวยงาม   จึงจำเป็นต้องเลี้ยงปลากัดไว้เพียงตัวเดียวในภาชนะที่ไม่ใหญ่มากนัก   ปลาก็จะมีความรู้สึกว่าสามารถสร้างอาณาเขตของตัวเองไว้ได้ก็จะมีสีสันสดใสสวยงาม   จัดว่าเป็นปลาที่ติดตลาด   ทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ   สามารถจำหน่ายได้ดีตลอดปี   โดยเฉพาะเด็กจะชอบหาซื้อปลากัดไปเลี้ยง   เพื่อนำไปกัดแข่งขันกัน   แล้วก็หาซื้อปลาตัวใหม่อยู่เสมอ

จากhttp://home.kku.ac.th/pracha/Betta.htm

วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

สือตอ...ปลาลายสวยต้องช่วยอนุรักษ์ (เทคโนโลยีชาวบ้าน)

สือตอ...ปลาลายสวยต้องช่วยอนุรักษ์ (เทคโนโลยีชาวบ้าน)

         ปลาเสือตอ เป็นปลาสวยงามที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจที่นักเลี้ยงปลาในต่างประเทศรู้จักกันดีมาหลายสิบปีแล้วในชื่อ SIAM TIGER FISH มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coius Microlepis พบปลาชนิดนี้ทั่วไปในประเทศทางแถบร้อนเช่น อินโดนีเซีย ไทย พม่า เขมร ในประเทศไทยเราพบมากในบึงบอระเพ็ด แม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง แม่น้ำน่าน ทางภาคอีสานพบในแม่น้ำโขง, แม่น้ำชี, แม่น้ำมูล 

  ลักษณะทั่วไปของ ปลาเสือตอ

         ปลาเสือตอมีลำตัวเล็กแบนข้างส่วนที่เป็นหน้าผากขาวลาด ปากกว้าง และยืดหดได้ ครีบหลังยาวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นหนามแข็ง 12 อัน ส่วนหลังเป็นก้านครีบอ่อนครีบล่างส่วนแรกเป็นหนามแข็งขนาดใหญ่ลดหลั่นกัน 3 อัน ส่วนหลังเป็นก้านครีบอ่อนเป็นแผ่นใสขอบกลม หางเป็นรูปมนมีเกล็ดขนาดเล็กรอบเกล็ดมีหนาม ลำตัวมีสีครีมออกชมพูและสีเหลือง มีแถบดำใหญ่พาดขวางลำตัวประมาณ 6 แถบ ขนาดความยาวเมื่อโตเต็มที่มีความยาว 16 นิ้ว

          ปลาเสือตอที่นิยมในตลาดปลาสวยงามในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 3 สายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์เสือตอน้ำจืด 2 สายพันธุ์และสายพันธุ์เสือตอน้ำกร่อยอีก  
  สายพันธุ์ ปลาเสือตอ

         ลักษณะที่เป็นความสวยงามเฉพาะตัวของปลาเสือตอคือ รูปทรงที่แบนกว้าง มีพื้นสีเหลืองสดใส มีลายดำพาดขวางลำตัวอย่างได้ส่วน เวลาเคลื่อนไหวครีบบนครีบล่างส่วนท้ายอ่อนพลิ้ว ครีบท้องหรือครีบตะเกียบมีสีเหลืองตัดสีดำเหยียดตรง มีชายพู่ตะเกียบ 3-4 เส้น ดูสง่างามโดยเฉพาะเวลาตามเหยื่อ หนามแข็งส่วนหน้าของครีบจะชี้ตัวขึ้น ครีบหนามล่างจะเหยียดลงทำให้ดูสวยงาม ปกติชอบอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำที่มีตอไม้จึงจะได้ชื่อว่า "ปลาเสือตอ"

  การเลี้ยง ปลาเสือตอ

         ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ปลาเสือตอ จะอาศัยอยู่บริเวณน้ำลึกในฤดูร้อนเพื่อวางไข่และย้ายตำแหน่งในฤดูน้ำหลาก ปลาเสือตอขนาดเล็กในแหล่งน้ำธรรมชาติกินอาหารประเภทสัตว์น้ำขนาดเล็กแทบทุกชนิด ส่วนปลาเสือตอขนาดใหญ่ชอบกินกุ้งฝอยและลูกปลา ส่วนปลาเสือตอที่นำมาเลี้ยงในตู้กระจกสามารถฝึกให้กินเหยื่อชนิดอื่น ๆ เช่น เนื้อสัตว์ เนื้อปลา กุ้ง และหนอนมีลเวิร์มแต่ต้องใช้ความพยายามในการฝึกค่อนข้างนานกว่าปลาชนิดอื่น
         วิธีฝึกให้กินเหยื่อ ต้องนำปลาชนิดอื่นที่กินเหยื่อนั้นดีอยู่แล้ว และมีขนาดไล่เลี่ยกับปลาเสือตอฝูงที่จะฝึกมาใส่รวมกันและเลี้ยงด้วยอาหารชนิดนั้น ปลาที่เคยกินเหยื่อจะชักนำให้ปลาเสือตอที่ไม่เคยกินเหยื่อชนิดนั้นแย่งกินเป็นบางครั้ง หากปลาเสือตอคายเหยื่อจะต้องคอยตักออกเมื่อฝึกไปสัก 3-4 สัปดาห์ ปลาเสือตอจะเริ่มคุ้นเหยื่อที่ให้ในระยะแรกหากปลาเสือตอที่ต้องการฝึกยังไม่ยอมกินต้องใช้เหยื่อเป็นคือ ลูกกุ้งฝอย ปลาเล็ก เป็นๆใส่ให้กินแต่น้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาท้องกิ่วตาย

  การเพาะขยายพันธุ์ ปลาเสือตอ

         ปลาเสือตอ สามารถวางไข่โดยวิธีธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องใช้การฉีดฮอร์โมนเข้าช่วย ช่วงการวางไข่ประมาณเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ปลาเสือตอเพศผู้จะมีขนาดโตเต็มวัยเมื่อมีน้ำหนักประมาณ 300-400 กรัม ส่วนปลาเสือตอเพศเมียขนาด 800 กรัมจะได้วัยเจริญพันธุ์

         ไข่ปลาเสือตอเป็นไข่ประเภทลอยน้ำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ใช้เวลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 14-17 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิประมาณ 29 องศาเซลเซียส และถุงอาหารจะยุบภายในเวลา 2-3 วัน อาหารที่เหมาะสมของลูกปลาเสือตอวัยอ่อนควรเป็นแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็ก เช่นโรติเฟอร์ในระยะ 3-10 วันแรก และใช้ไรแดงเลี้ยงอนุบาลจนได้ขนาด 3 เซนติเมตรขึ้นไป จึงใช้หนอนแดงอาร์ทีเมียขนาดใหญ่หรือลูกปลาขนาดเล็กให้กินเป็นอาหาร

  โรคและปัญหาของ ปลาเสือตอ

         โรคของปลาเสือตอมักจะเกิดจากปรสิตที่ติดมากับปลาเสือตอในธรรมชาติที่พบอยู่เป็นประจำคือ

           ฝีตามตัว มีลักษณะเป็นตุ่มตามตัวหรือส่วนทวารขนาดค่อนข้างใหญ่เป็นตุ่มบวมปูดออกจากผิวหนัง
วิธีรักษาคือ ให้แยกปลาที่มีอาการป่วยออกมาใส่ตู้พยาบาลที่มีระบบกรองน้ำและให้อากาศค่อนข้างแรงจึงอดอาหารไว้ 2-3 วันแล้วใช้ยาปฏิชีวนะผสมน้ำ 1 ช้อนโต๊ะต่อ 1 แคปซูลราดลงบนตัวกุ้งฝอยเป็นๆที่กรองแห้งไว้แล้วเทให้ปลากิน 1 วันครั้ง สัก 2-3 ครั้ง

           โรคอิ๊กหรือจุดขาว เกิดจากเชื้ออิ๊ก ใช้ยาซุปเปอร์อิ๊กที่มีขายอยู่ตามร้านขายปลาทั่วไป แช่ปลาตามอัตราส่วนที่กำหนด

         ทั้งนี้ ปลาเสือตอมีสีคล้ำเป็นลักษณะ แสดงความไม่สมบูรณ์และเจ็บป่วย เพราะสีของปลาเสือตอแสดงถึงความสมบูรณ์และอารมณ์ของปลา ปลาเสือตอที่ตกใจหรือป่วยจะออกสีดำ ครีบหุบ ลักษณะของปลาที่สมบูรณ์ครีบจะกางสีออกเหลืองสดใส ลายดำออกซีด ครีบกางตั้งทั้งปลาขนาดเล็กจนถึงปลาขนาดใหญ่
   ตลาด ปลาเสือตอ

         ปลาเสือตอที่พบในแหล่งน้ำทางภาคอีสานเป็นปลาเสือตอลายเล็กมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coius Undecimraciatus หรือในชื่อเรียกที่รู้จักในตลาดปลาสวยงามว่า "เสือตอลายเล็ก" พบมากในแม่น้ำโขงแถบจังหวัดหนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี ยโสธร ในแม่น้ำมูล มีจำนวนค่อนข้างมาก ราคาซื้อขายขนาดเล็ก 2 นิ้วฟุต ตัวละ 20-50 บาท ปลาเสือตออีกชนิดหนึ่งคือ ปลาเสือตอน้ำกร่อยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coius Quadrifasciatus หรือเรียกว่า "ปลากะพงลาย" เป็นปลาเสือตอที่ลายเล็กที่สุดมีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าว พบในแหล่งธรรมชาติตามปากแม่น้ำแทบทุกแห่งทั่วประเทศ จัดเป็นปลาเสือตอที่ราคาถูกที่สุด

         ปลาเสือตอชนิดที่นิยมและมีราคาสูงที่สุดในปัจจุบันคือ ปลาเสือตอลายใหญ่และเสือตอลายคู่(ลาย 7 ขีด) ปลาเสือตอทั้ง 2 ชนิดนี้ต้องนำเข้ามาจากประเทศกัมพูชา เป็นปลาที่จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ ทะเลสาบในประเทศเขมรโดยมีพ่อค้าคนกลางเก็บรวบรวม ปลาเสือตอทุกขนาดลำเลียงเข้ามาในประเทศไทยเพื่อขายส่งต่อไปยังต่างประเทศทั่วโลกเป็นสินค้าปลาสวยงามนิ้วละ 60-100 บาท ส่วนปลาเสือตอลายคู่ราคาจะสูงกว่าปลาเสือตอลายใหญ่เกือบ 3 เท่าตัว 

ที่มา http://pet.kapook.com/view5260.html